เมนู

หลังนั่นแล แต่ถือเอาในที่นี้อีกด้วยสามารถแห่งธรรมยุคนัทธะ (ธรรมเนื่อง
กันเหมือนแอก).
ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสหชาตธรรม. ที่ชื่อว่า
อวิกเขปะ เพราะความไม่ฟุ้งซ่านโดยปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจะ
ธรรมมีลักษณะเป็นต้น แม้แห่งธรรมทั้ง 2 นี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ
ก็ธรรมทั้ง 2 นี้ พึงทราบว่าถือเอาในที่นี้เพื่อการประกอบวิริยะและสมาธิแล.

อธิบายคำว่า เยวาปนกนัย



คำว่า เยวาปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา
อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา
(ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ธรรมที่มิใช่
รูป ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น แม้อื่นใดมีอยู่ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล)
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
กุศลธรรมเกิน 50 (ปโรปณฺณาสธมฺมา) เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยลำดับว่า ผัสสะย่อมมี ฯลฯ อวิกเขปะย่อมมีอย่างเดียว
ก็หาไม่ โดยที่แท้ทรงแสดงว่า ในสมัยใด มหาจิตเป็นอสังขาริก ดวงที่หนึ่ง
สหรคตด้วยโสมนัสสติเหตุกะฝ่ายกามาวจรย่อมเกิดขึ้น ในสมัยนั้น ธรรมแม้
เหล่าอื่นที่เป็นเยวาปนกธรรม ที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ มีผัสสะ
เป็นต้น ซึ่งอาศัยปัจจัยอันสมควรแก่ตน ๆ เกิดขึ้น ชื่อว่า อรูป เพราะความ
ไม่มีรูป ซึ่งกำหนดได้โดยสภาวะ ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกุศล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชาครั้นแสดงธรรมเกิน 50 ที่ยกขึ้นไว้ใน
บาลีด้วยอำนาจแห่งส่วนประกอบของจิตด้วยพุทธพจน์มีประมาณเท่านี้แล้วจึง
ทรงแสดงธรรม 9 อย่าง แม้อื่นอีกด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม. จริงอยู่
บรรดาบทพระสูตรเหล่านั้น ๆ ธรรม 9 เหล่านี้ย่อมปรากฏ คือ

ฉันทะ 1 อธิโมกข์ 1 มนสิการ 1 ตัตรมัชฌัตตตา 1 กรุณา 1
มุทุตา 1 กายทุจริตวิรัติ 1 วจีทุจริตวิรัติ 1 มิจฉาชีววิรัติ 1.
อนึ่ง ในมหาจิตดวงที่หนึ่งแม้นี้ ฉันทะในกุศลธรรมของความเป็น
ผู้ใคร่เพื่อกระทำก็มีอยู่ แต่ไม่ได้ยกไว้ในพระบาลีด้วยอำนาจแห่งส่วนประกอบ
ของจิต ในที่นี้ ฉันทะนั้นท่านจึงถือเอาด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม.
อธิโมกข์ก็มี มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา และบุรพภาคของเมตตาก็มี เมื่อ
อโทสะทรงถือเอาแล้ว บุรพภาคของเมตตานั้นก็เป็นอันถือเอาด้วยเหมือนกัน
ถึงบุรพภาคของกรุณา บุรพภาคของมุทิตา บุรพภาคของอุเบกขาก็มี แต่เมื่อ
ตัตรมัชฌัตตตาทรงถือเอาแล้ว บุรพภาคของอุเบกขานั้นก็ย่อมเป็นอันถือเอา
แล้วโดยแท้ สัมมาวาจาก็มี สัมมากัมมันตะก็มี สัมมาอาชีวะก็มี แต่ท่าน
ไม่ได้ยกขึ้นไว้ในบาลีด้วยสามารถแห่งส่วนประกอบของจิต ในที่นี้ ธรรมมี
สัมมาวาจาเป็นต้น แม้นั้นก็ถือเอาด้วยอำนาจแห่งเยวาปนกธรรม แต่ในบรรดา
ธรรม 9 อย่างเหล่านั้น ธรรม 4 อย่าง ที่ได้ในขณะเดียวกัน คือ ฉันทะ 1
อธิโมกข์ 1 มนสิการ 1 ตัตรมัชฌัตตตา 1 ที่เหลือนอกนั้นได้ในขณะต่างกัน.
เหมือนอย่างว่า บุคคลย่อมละมิจฉาวาจาด้วยจิตดวงนี้ ย่อมบำเพ็ญ
สัมมาวาจาด้วยอำนาจวิรัติ ในกาลใด ในกาลนั้น ธรรม 5 อย่างเหล่านั้น คือ
ธรรม 4 มีฉันทะเป็นต้น และสัมมาวาจาย่อมเกิดในขณะเดียวกัน. เมื่อใด
บุคคลย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมบำเพ็ญสัมมากัมมันตะด้วยอำนาจวิรัติ ฯลฯ
ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมบำเพ็ญสัมมาอาชีวะด้วยอำนาจวิรัติ ฯลฯ เมื่อใดกระทำ
บริกรรมด้วยกรุณา ฯลฯ ทำบริการด้วยมุทิตา ในกาลนั้น ธรรม 5 เหล่านี้
ย่อมเกิดในขณะเดียวกัน คือ ธรรม 4 อย่างมีฉันทะเป็นต้น และบุรพภาค
ของมุทิตา. ก็นอกจากนี้แล้ว เมื่อบุคคลให้ทาน บำเพ็ญศีล เจริญภาวนา

ย่อมได้ธรรม 4 อย่าง (ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา) ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบที่แน่นอน.

อธิบายฉันทะเป็นต้น



บรรดาเยวาปนกธรรมทั้ง 9 เหล่านี้ ดังที่พรรณนามานี้ คำว่า ฉันทะ
เป็นชื่อของกัตตุกัมยตา
เพราะฉะนั้น ฉันทะนั้น จึงมีความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำเป็นลักษณะ มีการแสวงหาอารมณ์เป็นกิจ มีการต้องการอารมณ์เป็น
ปัจจุปัฏฐาน อารมณ์ของฉันทะนั้นนั่นแหละเป็นปทัฏฐาน ก็ฉันทะนี้ในการ
ยึดอารมณ์ บัณฑิตพึงเห็นเหมือนจิตเหยียดมือออกไป.
ความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า อธิโมกข์ อธิโมกข์นั้นมีการตกลงใจเป็น
ลักษณะ มีการไม่ส่ายไปเป็นรส มีการตัดสินเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรมที่พึงตกลง
ใจเป็นปทัฏฐาน อธิโมกข์นี้พึงเห็นเหมือนเสาเขื่อนเพราะความไม่หวั่นไหวใน
อารมณ์.
การกระทำ ชื่อว่า การะ การกระทำไว้ในใจชื่อว่า มนสิการ
ธรรมที่ชื่อว่า มนสิการ เพราะทำใจให้ขึ้นสู่วิถีจากภวังคจิต. มนสิการนี้นั้น
มี 3 ประการ คือ
อารัมมณปฏิปาทกะ (สังขารขันธ์)
วิถีปฏิปาทกะ (ปัญจทวาราวัชชนจิต)
ชวนปฏิปาทกะ (มโนทวาราวัชชนจิต).
บรรดามนสิการทั้ง 3 นั้น มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์ ชื่อว่า
มนสิการ เพราะกระทำไว้ในใจ. มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์นั้น มีการ
ทำสัมปยุตตธรรมให้รับอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประกอบสัมปยุตธรรม